วันศุกร์ที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

สถาบันโรคทรวงอก...เบาหวาน

การแบ่งปันประสบการณ์ของผู้มีปัญหาสุขภาพด้านเบาหวาน


ใช้มังคุด เป็นยา
โดย หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ
ฉบับประจำวันที่ 3 มีนาคม 2554

มหัศจรรย์มังคุดไทยนอกจากเป็นผลไม้ที่มีรสอร่อย ผู้คนในย่านเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ยังใช้เป็นยา มังคุดเป็นพืชพื้นเมืองในป่าดิบชื้น ซึ่งเคยมีความพยายามนำพันธุ์มังคุดไปในปลูกในพื้นที่ส่วนต่างๆ ของโลก แต่ไม่ประสบความสำเร็จ เมื่อเทียบกันแล้ว มังคุดบ้าน เรามีรสชาติดี ไม่เปรี้ยวจัด เนื้อมาก เมล็ดเล็ก เปลือกบาง และสามารถใช้เป็นทั้งอาหารและยาเหมือนพืชพรรณอื่นๆ ดังคำกล่าวที่ชัดเจนของหมอยาโบราณว่า โรคเกิดขึ้นที่ไหน ที่นั่นย่อมมียารักษาโรคนั้นๆ เกิดอยู่ด้วย
ตำรับยาโบราณที่ใช้มังคุดในประเทศแถบนี้ มักเป็นการนำเปลือกแห้งมาฝน บด หรือต้ม เพื่อใช้แก้ท้องเสีย บิด หรือทำเป็นยาล้างแผลและทาแผลเน่าเปื่อยเป็นหนอง
       หมอยาไทยสายอายุรเวชอธิบายว่า เปลือกมังคุดอยู่ ในกลุ่มยารสฝาด จึงมีสรรพคุณในการสมานแผลโดยตรง ดังคำคล้องจองจับคู่ระหว่างรสชาติสรรพคุณของยาสมุนไพรที่หมออายุรเวชท่องกัน ขึ้นใจคือ ฝาดสมาน หวานซึมซาบ เมาเบื่อแก้พิษ โลหิตชอบขม เผ็ดร้อนแก้ลม มันแก้เส้นเอ็น รสเย็นบำรุงหัวใจ เค็มซึมซาบ เปรี้ยวปราบเสมหะ
ความรู้พื้นบ้านเกี่ยวกับคุณสมบัติ ฝาดสมานของมังคุด ได้รับการต่อยอดอย่างกว้างขวางในแวดวงวิทยาศาสตร์ของประเทศต่างๆ นักวิทยาศาสตร์ค้นพบว่า ในมังคุดมี สารประกอบที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกายมนุษย์ชนิดหนึ่ง เรียกว่า แซนโทนส์ (Xnthones) ลักษณะเป็นผลึกสีเหลืองใส มีคุณสมบัติในการต้านอนุมูลอิสระ ต้านเนื้องอก ต้านภูมิแพ้ ต้านอักเสบ รวมทั้งต้านแบคทีเรียและไวรัสได้ด้วย ปัจจุบันนักวิทยาศาสตร์พบสารแซนโทนส์ในธรรมชาติแล้วกว่า 200 ชนิด โดยในมังคุดพบแซนโทนส์มากกว่า 40 ชนิด
       ในประเทศไทยมีการศึกษาวิจัยค้นหาความรู้เรื่องมังคุดจาก นักวิจัยหลายกลุ่มด้วยกัน แต่ที่ทำมานาน และเน้นการพัฒนาในเชิงอุตสาหกรรมเพื่อขายเป็นสินค้า คือนักวิจัยกลุ่มที่เรียกตัวเองว่า “Operation BIM” ซึ่งทำงานภายใต้ศูนย์วิจัยและพัฒนามังคุดไทยเมื่อปี พ.ศ. 2549 โดยได้รับทุนวิจัยหลักจากบริษัทเอเชียน ไฟย์โตซูติคอลส์ จำกัด (มหาชน)ศาสตราจารย์ ดร. พิเชษฐ์ วิริยะจิตรา ทางด้านเคมีของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ หัวหน้าทีมวิจัยโอเปอเรชันบิม ประธานกรรมการและซีอีโอของเอเชียน ไฟย์โตซูติคอลส์ เริ่มจับงานวิจัยมังคุดใน ช่วงปี 2520 ขณะเป็นอาจารย์ประจำคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ หลังจบปริญญาเอก สาขาเคมีอินทรีย์ จากมหาวิทยาลัยแทสเมเนีย ประเทศออสเตรเลียมาไม่นาน จากความตั้งใจเริ่มแรกคือ อยากหาพืชพื้นถิ่นภาคใต้มาทำเป็นงานวิจัย แล้วก็มาลงที่มังคุด เพราะยังไม่มีรายงานการทำวิจัยการใช้ประโยชน์จากพืชชนิดนี้อย่างจริงจัง เพราะมีงานวิจัยต่างประเทศกล่าวถึงประโยชน์ของสารแซนโทนส์ในมังคุด
อาจารย์พิเชษฐ์ได้สกัดแซนโทนส์ตัวหนึ่งออกมาจากมังคุด โดยกล่าวว่าเป็นแซนโทนส์ตัวที่ดีที่สุด และตั้งชื่อว่า GM-1 (GM ย่อมาจากชื่อวิทยาศาสตร์ของมังคุด คือ Garcinea mangostana จึงอาจเรียกเล่นๆ ได้ว่า สารมังคุด-1) จากนั้นส่ง GM-1 ไปทดสอบฤทธิ์ด้านต่างๆ ซึ่งเป็นผลงานทำวิจัยหลายชิ้นร่วมกับอาจารย์และนักศึกษาที่ภาควิชา เภสัชวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
เขาพบว่า สารตัวนี้มีฤทธิ์ต้านการอักเสบและระงับปวดได้ดีกว่าแอสไพริน 3 เท่า มีฤทธิ์ต้านแบคทีเรีย ไวรัส แก้แพ้ และต้านเชื้อมะเร็งในหลอดทดลอง เมื่อมีการทดลองใช้ GM-1 ปริมาณสูงในหนู พบว่าทำให้หนูมีอาการซึมเล็กน้อยจากฤทธิ์กดประสาท แต่ไม่มีอาการผิดปกติอื่นๆ จึงค่อนข้างปลอดภัย
อาจารย์พิเชษฐ์เริ่มทดลองทำเป็นครีมทาหน้ารักษาสิวใช้ในกลุ่มครอบครัว และเพื่อนฝูง และหลังจากนั้น 10 ปีได้ทำเป็นการค้าตั้งโรงงานผลิตเครื่องสำอางที่มีมังคุดเป็นส่วนประกอบเมื่อปี พ.ศ. 2536 และทยอยผลิตเครื่องสำอางมังคุดออก มา ทั้งสบู่ล้างหน้า ครีมล้างหน้า ครีมบำรุงผิว ครีมกันแดด และตัดสินใจออกจากมหาวิทยาลัยเพื่อทำธุรกิจเต็มตัว แต่ไม่ประสบความสำเร็จทางการตลาด
แต่เขาก็ไม่ลดละ ยังมองเห็นว่า สารจากมังคุดน่าจะสร้างระบบภูมิคุ้มกันให้ร่างกายได้ จึงปรุงสูตรยาแคปซูลขึ้นมาใหม่ โดยใช้ GM-1 จากมังคุด บวกกับสารสกัดจากพืชอีก 4 ชนิดคือ บัวบก ถั่วเหลือง งาดำ และฝรั่ง เป็นยาช่วยให้เม็ดเลือดขาว ทำหน้าที่สร้างภูมิคุ้มกันสมดุลมากขึ้น
ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา มีคนนำแคปซูลดังกล่าวกับน้ำมังคุดไป ทดลองใช้กับผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้าย แล้วพบว่าอาการดีขึ้น ทำให้ชีวิตช่วงสุดท้ายของผู้ป่วยอยู่ได้อย่างมีความสุขมากขึ้น ผู้ป่วยจำนวนครึ่งหนึ่งสามารถมีชีวิตอยู่ได้นานกว่าเวลาที่แพทย์บอก และหลายรายมีสุขภาพแข็งแรงจนถึงปัจจุบัน ทีมวิจัยจึงกลับมาหาคำอธิบายในห้องแล็บ และพบว่า ผลิตภัณฑ์สามารถเข้าไปกระตุ้นภูมิต้านทานต่อเซลล์มะเร็ง และทำให้อาการภูมิแพ้ลดลง
         การค้นพบดังกล่าว ทำให้อาจารย์พิเชษฐ์เริ่มทำการวิจัย เพื่อยืนยันประสิทธิภาพการรักษาผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้าย ที่แพทย์ลงความเห็นว่าจะมีชีวิตอยู่ได้นานกว่า 3 เดือน โดยทำการวิจัยใน 3 แห่ง กับผู้ป่วยแห่งละ 20 คน คือ ที่คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดย ศ.พญ. สุมิตรา ทองประเสริฐ ทำกับผู้ป่วยมะเร็งปอดขั้นสุดท้ายที่แพทย์ยุติการรักษาตามปกติ เนื่องจากไม่ตอบรับการรักษาด้วยเคมีบำบัดและรังสีบำบัดแล้ว สอง ที่รัฐแคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา โดยนายแพทย์ Rex Duane Wilson อายุรแพทย์ที่ Mercy Medical Center เมือง Redding และสาม ที่อิตาลี โดย Dott. Prof. Aldo Demicheli จากหน่วยงาน Consorzio interuniversitario internazionale per lo Svilppo dell'Oncologia. โดยแห่งที่สองและสามทำกับผู้ป่วยที่ไม่ตอบรับการรักษาแผนปกติ หรือผู้ป่วยที่ใช้วิธีรักษาแบบทางเลือก ทั้ง 3 แห่งทำการวิจัยโดยให้ผู้ป่วยใช้แคปซูลครั้งละ 3 เม็ด ก่อนอาหารวันละ 3 ครั้ง ร่วมกับการดื่มน้ำมังคุดวัน ละ 1 ซองทุกวัน และทดสอบว่าผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตอย่างไร รวมทั้งสามารถยืดเวลาชีวิตออกไปได้ยาวนานขึ้นหรือไม่ โดยใช้ตัวชี้วัดหลักคือ การตรวจระบบภูมิคุ้มกัน และตรวจค่าบ่งชี้มะเร็ง (CEA) ว่าลดลงหรือไม่
       นอกจากนี้ยังได้ทำการวิจัย เพื่อศึกษากลไกทางภูมิคุ้มกันของ Operation BIM สำหรับมะเร็งด้วย โดย ศ.ดร. วัชระ กสิณฤกษ์ ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยเทคโนโลยีชีวการแพทย์ เพื่ออธิบายว่าร่างกายของผู้ป่วยมะเร็งตอบรับกับผลิตภัณฑ์ดังกล่าวอย่างไร
       นี่เป็นอีกก้าวของการทำงานโดยใช้พืชธรรมชาติจากมังคุด เพื่อใช้เป็นยารักษาโรค โดยผ่านกระบวนการศึกษาวิจัยและพัฒนาไปสู่การค้า และการคืนกำไรให้สังคม
........................
หมายเหตุ : เรียบเรียงจากข้อมูลทองใส ป่าก่อ    ดูผลิตภัณฑ์ที่นี่


ผู้ป่วยเบาหวานรายการBIM100



โรคเบาหวาน
โรคเบาหวานเป็นโรคเรื้อรัง ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ แต่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดและปัสสาวะให้เป็นปกติได้
โรคนี้สามารถถ่ายทอดทางกรรมพันธุ์ไปสู่บุตรหลานได้
สาเหตุ : เกิดจากความผิดปกติของตับอ่อนที่ไม่สามารถผลิตฮอร์โมนอินซูลินให้เพียงพอกับความต้องการของร่างกาย ซึ่งเป็นฮอร์โมนอินซูลินเป็นฮอร์โมนที่ช่วยนำพาน้ำตาลเข้าไปในเนื้อเยื่อ เพื่อไปใช้เป็นพลังงาน ในกรณีที่ร่างกายขาดอินซูลิน จะเกิดภาวะน้ำตาลคั่งในเลือด แล้วถูกขับออกมากับปัสสาวะ ทำให้เกิดอาการเบาหวาน
อาการ : ระยะแรกไม่มีอาการบ่งชัด เมื่อเป็นระยะหลัง จะมีอาการชัดเจนคือ

ดื่มน้ำบ่อยและมาก

กินจุแต่ผอมลง

เป็นแผลหรือฝีง่าย แต่หายยาก

ตาพล่ามัว

บุตรคนแรกคลอดน้ำหนักเกิน 4 กิโลกรัม

ปัสสาวะบ่อยและมาก

น้ำหนักลด และอ่อนเพลีย

คันตามผิวหนัง และบริเวณอวัยวะสืบพันธุ์

ชาปลายมือปลายเท้า ความรู้สึกทางเพศลดลง
การรักษา : ต้องควบคุมอาหาร ออกกำลังกาย และควบคู่กับการรักษาทางยา

1.
อาหาร : อาหารที่รับประทานแบ่งเป็น 3 กลุ่ม


กลุ่มแรก ควรหลีกเลี่ยงไม่ควรรับประทานได้แก่


อาหารที่มีน้ำตาลเป็นส่วนประกอบโดยตง รวมทั้งน้ำผึ้งด้วย


ผลไม้ที่มีรสหวานจัด เช่น ทุเรียน มะม่วงสุก ฯลฯ

เครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ และน้ำอัดลม ฯลฯ


กลุ่มสอง ต้องจำกัดปริมาณ ได้แก่


อาหารประเภทแป้ง เช่น ข้าว ก๋วยเตี๋ยว เผือก มัน ฯลฯ


อาหารประเภทไขมัน เช่น มะพร้าว น้ำมันหมู อาหารที่ทอดด้วยน้ำมัน ฯลฯ


ผลไม้ที่มีรสหวานอ่อนๆ เช่น ส้ม มะละกอสุก ฯลฯ


กลุ่มสาม รับประทานได้ไม่จำกัด เช่น


เนื้อสัตว์ฺที่ไม่มีมัน และปลา


เครื่องดื่มที่ไม่มีน้ำตาลเป็นส่วนประกอบ


เครื่องเทศต่างๆ ถั่วต่างๆ

ควรกินอาหารที่มีเส้นใยมากๆ เช่น ข้าวซ้อมมือ ผักทุกชนิด เม็ดแมงลัก

2.
ออกกำลังกานสม่ำเสมอ จะเกิดผลดี

ทำให้ระดับน้ำตาล ควบคุมได้ดีขึ้นและทำให้การใช้ยากินหรือยาฉีดน้อยลงได้


ทำให้ช่วยลดน้ำหนักตัว

ช่วยลดภาวะความดันโลหิตสูง และอัตราเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจ

3.
ยา : ควบุคมระดับน้ำตาล ด้วยยารักษาเบาหวานสม่ำเสมอตามแผนการรักษาของแพทย์
โรคแทรกซ้อน

1.
พบภาวะความดันโลหิตสูงร่วมด้วย

2.
โรคตาจากเบาหวาน เช่น ตามัว ต้อกระจก

3.
โรคไตจากเบาหวาน เช่น เกิดไตเสื่อมสมรรถภาพในการขับถ่าย และเกิดไตวายในที่สุด

4.
หลอดเลือดสมองตีบ-ตัน ทำให้เป็นอัมพาต กลืนลำบาก พูดไม่ชัด

5.
หลอดเลือดหัวใจตีบ-ตัน เกิดกล้ามเนื้อหัวใจตาย

6.
กลุ่มโรคเส้นเลือดแดงส่วนปลายเกิดแผลที่เท้าและเน่า มีแผลจะติดเชื้อง่ายรักษายาก

7.
เกิดอักเสบจากปลายประสาท ทำให้มีอาการชาปลายมือ ปลายเท้า หมดความรู้สึกทางเพศ
การปฏิบัติตัว ของผู้ป่วยเบาหวาน

ออกกำลังกายสม่ำเสมอทุกวัน เช่น เดิน หรือ วิ่งเหยาะๆ

รักษาเท้าให้สะอาด อย่าตัดเล็บสั้นเกินไป และอย่าสวมรองเท้าคับเกินไป

ถ้ามีบาดแผลรีบไปพบแพทย์เพื่อรักษา

ทำจิตใจให้สบาย ความเครียดหรือกังวลใจมากๆ จะทำให้น้ำตาลถูกขับออกจากตับมาก มีผลให้น้ำตาลในเลือดเพิ่มมากขึ้น
อันตราย ที่อาจเกิดขึ้นได้ทันที

1.
ภาวะน้ำตาลในเลือดสูงมาก : ผู้ป่วยจะมีอาการกระหายน้ำมาก ปัสสาวะบ่อย เบื่ออาหาร คลื่นไส้ อาเจียน ใจเต้นแรงเร็ว หายใจหอบลึก มีกลิ่นเหมือนผลไม้สุก ซึม และอาจหมดสติได้


วิธีแก้ไข

รีบพบแพทย์หรือส่งโรงพยาบาลด่วน หากไม่ได้รับการรักษาทันท่วงทีอาจเสียชีวิตได้

2.
ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ


วิธีแก้ไข

เมื่อเริ่มรู้สึกหิว ใจสั่น มือสั่น ให้กินน้ำหวาน หรือน้ำตาล หรือของหวานๆ ทันที

หากหมดสติให้นำส่งโรงพยาบาล ถ้าชักช้าอาจอันตรายถึงชีวิต
เราจะทราบว่าเป็นโรคเบาหวานหรือไม่ โดย

ไปพบเพทย์ตรวจหาน้ำตาลในเลือด

ตรวจหาน้ำตาลในปัสสาวะ
ข้อปฏิบัติในการมาเจาะเลือด เพื่อตรวจเบาหวาน

1.
งดอาหาร และเครื่องดื่มทุกชนิด ยกเว้นน้ำดื่ม ตั้งแต่หลังเที่ยงคืนก่อนวันเจาะเลือดจนถึงเวลาเจาะเลือด

2.
งดฉีดกลูโคส น้ำเกลือทางเส้นเลือดหลังเที่ยงคืนจนถึงเวลาเจาะเลือด
การรักษาเบาหวานต้องยึดสิ่งสำคัญ คือ การรักษาทางยา ควบคุมอาหาร และออกกำลังกาย ผู้ป่วยเบาหวาน ถ้าเป็นวัณโรคด้วย โรคอาจกำเริบมากขึ้น ต้องควบคุมรักษาเบาหวานโดยใกล้ชิดจากแพทย์
แหล่งข้อมูล สถาบันโรคทรวงอก