วันอาทิตย์ที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

เบาหวาน

เบาหวานมีอยู่ 2 ชนิดคือ 


เบาหวานชนิดที่ 1

(เมื่อก่อนเราเีรียก เบาหวานที่ต้องพึ่งอินซูลิน(IDDM) หรือ เบาหวานที่เกิดขึ้นในเด็ก) และชนิดที่ 2 (เมื่อก่อนเราเรียก เบาหวานที่ไม่ต้องพึ่งพาอินซูลิน (NIDDM) หรือเบาหวานในผู้ใหญ่)

อินซูลิน 

เบาหวานทั้ง 2 ชนิด คือชนิดที่ 1 และ 2 มีอินซูลิน เป็นปัจจัยสำคัญทำให้เกิด ภาวะดังกล่าว : คือจะมีการเพิ่มขึ้นของระดับน้ำตาล(กลูโคส)ในเลือด เนื่องมาจากการขาดอินซูลิน ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่ผลิตออกมาจากตับอ่อน และแสดงเป็นตัวหลักในการควบคุม การเผาผลาญต่าง ๆ ในร่างกาย โดยอินซูลินจะทำงานดังนี้:
  • ขณะที่กำลังกินอาหาร และ ทันทีหลังกินอาหาร เมื่อระบบย่อยอาหารทำการย่อย คาร์โบไฮเดรตให้กลายเป็นโมเลกุลของน้ำตาล (เช่น กลูโคส) และย่อยสลายโปรตีนให้กลายเป็น กรดอะมิโน
  • ทันทีทันใดหลังจากกินอาหาร กลูโคส และกรดอะมิโน จะถูกดูดซึมโดยตรงเข้าไปยังกระแสเลือด ซึ่งจะทำให้กลูโคสในกระแสเลือดเพิ่มขึ้นทันที และอยู่ในระดับที่สูงอย่างรวดเร็ว
  • การเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วของกลูโคสในกระแสเลือดนี่เอง จะเป็นตัวส่งสัญญาณไปยังตับอ่อน ซึ่งจะทำให้ เซลล์ที่เรียกว่า เบต้าเซลล์ ในตับอ่อนหลั่งอินซูลินออกมา และเข้าไปยังกระแสเลือด ภายใน 10 นาทีหลังจากมื้ออาหาร อินซูลินจะขึ้นถึงระดับสูงสุด
  • อินซูลินจะทำให้กลูโคส และกรดอะมิโน เข้าไปสู่ตัวเซลล์ได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เซลล์กล้ามเนื้อ และเซลล์ตับ และที่ในเซลล์นี่เอง อินซูลินและฮอร์โมนตัวอื่น ๆ จะทำหน้าที่โดยตรง เพื่อทำการเผาผลาญให้เกิดพลังงานแก่ร่างกาย หรือเก็บสะสมพลังงานเหล่านั้นในรูปแบบอื่น ๆ เพื่อเก็บไว้ใช้ในยามจำเป็น (ส่วนสมอง และระบบประสาท จะไม่ขึ้นกับ อินซูลิน แต่จะมีการควบคุมระดับน้ำตาล ผ่านกลไกอื่น)
  • เมื่อระดับ อินซูลินสูงขึ้น ตับจะหยุดทำการสร้าง กลูโคส และจะเก็บกลูโคสไว้ในรูปแบบอื่น ๆ เพื่อสำรองไว้ใช้ในยามที่ร่างกายต้องการ
  • เมื่อระดับน้ำตาลในเลือดถึงระดับสูงสุด ตับอ่อนจะลดการผลิตอินซูลิน
  • ประมาณ 2-4 ชั่วโมงหลังมื้ออาหาร ทั้งระดับกลูโคส และอินซูลินในกระแสเลือด จะอยู่ในระดับต่ำสุด แต่อินซูลินจะยังคงอยู่ในระดับที่สูงกว่าเล็กน้อย ระดับน้ำตาลในเลือดในขณะนี้เราจะเรียกกันว่า ระดับความเข้มข้นของน้ำตาลในเลือดหลังการอดอาหาร( fasting blood glucose concentrations)

diabetes_pancrease.jpg
ตับอ่อนจะวางตัวอยู่ด้านหลังของตับ และจะเป็นแหล่งผลิต ฮอร์โมน อินซูลิน โดยร่างกายจะใช้อินซูลิน เพื่อการเก็บสะสม และ การใช้งานของกลูโคส

เบาหวานชนิดที่ 2


(เมื่อก่อนเราเรียก เบาหวานที่ไม่ต้องพึ่งพาอินซูลิน (NIDDM) หรือเบาหวานในผู้ใหญ่)
เบาหวานชนิดที่ 2 เป็นชนิดที่พบได้เป็นส่วนมาก ของผู้ป่วยโรคนี้ โดยจะมีประมาณ 90% ของผู้ป่วยเบาหวาน จะเป็นเบาหวานชนิดที่ 2 ในประเทศสหรัฐอเมริกามีผู้ป่วยเบาหวานชนิดนี้ ประมาณ 19 ล้านคน และอีกครั้งนึงของประชากรเป็นผู้ป่วยที่ไม่ทราบว่าตัวเองเป็นเบาหวาน ขบวนการหรือกลไกการเกิดเบาหวานชนิดที่ 2 นี้เรายังไม่ทราบแน่ชัิดทั้งกลไก หรือ ขบวนการ แต่ผู้เชี่ยวชาญด้านนี้ได้ให้ความคิดเห็นว่า น่าจะมีกลไกการเกิดโรคอยู่ 3 ระยะ ในผู้ป่วยโดยทั่วไป:
  • ระยะแรก ในการเกิดเบาหวานชนิดที่ 2 คือสภาวะที่เรียกว่า insulin resistance หรือการดื้อต่อ อินซูลิน ถึงแม้ว่า อินซูลินสามารถจับกับ ตัวรับทั้งในเซลล์ตับและกล้ามเนื้อได้ตามปกติ แต่ขบวนการจริง ๆ แล้วคือการป้องกันไม่ให้อินซูลินเคลื่อน กลูโคส จากเลือดเข้าสู่เซลล์ได้ ซึ่งที่ตับและกล้ามเนื้อจะเป็นบริเวณที่มีการใช้น้ำตาลได้ ถึงแม้ว่าผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 จะสามารถสร้าง อินซูลินได้ในระดับที่เป็นปกติ หรือมากกว่าปกติก็ตาม ในช่วงแรก ๆ ของเบาหวานชนิดที่ 2 การผลิตอินซูลินอาจจะเพียงพอ ที่จะเอาชนะภาวะดี้อต่อินซูลินนี้ได้
  • เมื่อเวลาล่วงเลยไป ตับอ่อนจะไม่สามารถสร้างอินซูลินให้เพียงพอ ที่จะเอาชนะภาวะดื้อต่ออินซูลินได้ ผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 จะเริ่มไ้ด้รับผลกระทบจากภาวะที่มีน้ำตาลเิิพิ่มขึ้นในเลือดอย่างผิดปกติ โดยเฉพาะหลังจากมื้ออาหาร (เรียกว่า ภาวะน้ำตาลในเลือดสูงหลังมื้ออาหาร postprandial hyperglycemia) ปัจจุบันเราเชื่อว่าภาวะนี้ จะมีผลอย่างยิ่งยวดต่อความเสื่อม-เสียหายของร่างกาย
  • ในที่สุด วงจรการเพิ่มขึ้นของน้ำตาลในเลือด จะทำให้ เบต้าเซลล์ในตับอ่อน ทำงานผิดปกติ หรืออาจจะทำให้เกิดความเสียหายอย่างไม่สามารถกลับสู่สภาพเดิมได้ ทำให้การผลิตอินซูลินของตับอ่อนต้องหยุดไปอย่างสมบูรณ์ ทำให้เกิดภาวะเบาหวานอย่างสมบูรณ์ คือไม่มีช่วงเวลาที่น้ำตาลในเลือดลดลงอีกต่อไป ระดับน้ำตาลจะยังคงสูงอย่างต่อเนื่อง แม้กระทั่งผู้ป่วยไม่ได้กินอาหารใด ๆ เข้าไประดับน้ำตาลในเลือดก็ยังคงสูงกว่าค่าปกติ
สารสกัดGM1สูตรเบาหวาน

ผู้ป่วยเบาหวานกับโภชนาการที่เหมาะสม
อาหารสำหรับผู้ป่วยเบาหวานลดการเพิ่มของน้ำตาล-ความสมดุลต่อร่างกาย

ผู้ป่วยโรคเบาหวาน ควรรับประทานอาหารที่มีทั้งชนิด และปริมาณที่เหมาะสม ตรงตามเวลา อย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้ได้รับสารอาหาร เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย และพลังงานที่สมดุลกับการใช้แรงงาน ผู้ป่วยโรคเบาหวานทุกคน ควรให้ความสนใจ และพยายามทำความเข้าใจเกี่ยวกับการเลือกชนิด และปริมาณอาหาร ที่เหมาะสม
ผู้ป่วยโรคเบาหวาน ควรทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ให้เหมาะสมกับ ความต้องการของร่างกาย ผู้ป่วยสามารถ เปลี่ยนอาหารได้หลากหลาย เพื่อหลีกเลี่ยงความซ้ำซากจำเจ และให้มีความสุข ในการรับประทานอาหาร มากขึ้น โดยสลับเปลี่ยนหมุนเวียน ในอาหารหมู่เดียวกัน ในปริมาณที่มีพลังงานเทียบเท่ากัน

 อาหารผู้ป่วยเบาหวานนั้นอาจแบ่งง่ายๆ เป็น 3 ประเภทคือ

ประเภทที่ 1 


ห้ามรับประทาน ได้แก่ อาหารน้ำตาลและขนมหวาน เช่น ทองหยิบ ทองหยอด ฝอยทอง สังขยา ลอดช่อง อาหารเชื่อม เค้ก ช็อกโกแลต ไอศกรีม และขนมหวานอื่นๆ เครื่องดื่ม เครื่องดื่มประเภท น้ำอัดลม น้ำเขียว น้ำแดง โอเลี้ยง เครื่องดื่มชูกำลัง นมข้นหวาน น้ำเกลือแร่ น้ำผลไม้ซึ่งมีน้ำตาลประมาณ 8-15% เป็นส่วนใหญ่ ยกเว้นน้ำมะเขือเทศมีน้ำตาลประมาณ 1%

ควรดื่ม น้ำเปล่า น้ำชาไม่ใส่น้ำตาล ถ้าดื่มกาแฟ ควรดื่มกาแฟดำ ไม่ควรใส่น้ำตาล นมข้นหวาน หรือครีมเทียม เช่น คอฟฟี่เมท (คอฟฟี่เมทประกอบด้วย น้ำตาลกลูโคส 58% น้ำมันปาล์ม 33%) ควรใส่นมจืดพร่องไขมัน หรือน้ำตาลเทียมแทน ถ้าดื่มนม ควรดื่มนมจืดพร่องไขมัน สำหรับนมเปรี้ยว ส่วนใหญ่ไม่ใช่นมพร่องไขมัน และมีน้ำตาลเป็นส่วนประกอบอยู่ประมาณ 15%

ถ้าดื่มน้ำอัดลม ควรดื่มน้ำอัดลมที่ใส่น้ำตาลเทียม เช่น เป๊ปซี่แมทซ์ ไดเอทโค้กเป็นต้น 

น้ำตาลเทียมที่มีในปัจจุบันมี 3 ประเภท

1. แอสปาแทม ซื่อการค้าว่า อีควล หรือไดเอต จำหน่ายเป็นเม็ดและเป็นซอง แอสปาแทม 1 เม็ด ให้พลังงาน 2 กิโลแคลอรี่ ข้อห้ามคือ ห้ามใช้ในผู้ป่วย ที่เป็นฟีนิลคีโตนยูเรีย โรคนี้พบน้อยในเมืองไทย และถ้าเป็นโรคนี้ จะได้รับการวินิจฉัยโรค ตั้งแต่วัยเด็ก

2. แซคคารีน หรือขัณฑสกรชื่อทางการค้าว่า สวีทแอนด์โลว์ ไม่มีสารอาหาร มีการศึกษาว่า เกิดมะเร็งกระเพาะปัสสาวะในหนู แต่ต้องใช้ปริมาณสูงมาก สำหรับในคนยังไม่มีหลักฐานว่าทำให้เกิดโรคมะเร็ง

3. น้ำตาลฟรุคโตส หรือชอร์บิทอล เป็นน้ำตาลจากผลไม้ มีสารอาหารเท่ากับน้ำตาล จึงไม่ควรรับประทานน้ำตาลชนิดนี้ เพราะอาจเข้าใจผิดว่าไม่สารอาหาร

ประเภทที่ 2 


รับประทานได้ไม่จำกัดจำนวน ได้แก่ ผักใบเขียวทุกชนิด เช่น ผักกาด ผักคะน้า ถั่วฝักยาว ผักบุ้ง ถั่วงอก ทำเป็นอาหาร ตัวอย่างเช่น ต้มจืด ยำ สลัด ผัดผัก เป็นต้น อาหารกลุ่มนี้มีสารอาหารต่ำ นอกจากนั้น ยังมีการอาหารที่เรียกว่าไฟเบอร์ ซึ่งอาจทำให้การดูดซึมน้ำตาลช้าลง

ประเภทที่ 3 


รับประทานได้แต่จำกัดจำนวน ได้แก่ อาหารพวกแป้ง(คาร์โบไฮเดรต) ปัจจุบันอาหารพวกแป้งนั้นไม่จำกัดจำนวน ถ้าผู้ป่วยไม่อ้วนมาก 

เนื่องจากลดอาหารจำพวกแป้ง ทำให้ต้องเพิ่มอาหารพวกไขมัน ซึ่งอาจเป็นผล ให้ระดับไขมันสูง และเพิ่มเนื้อสัตว์ทำให้หน้าที่ของไตเสียไปเร็วขึ้น


สนใจศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับโรคมะเร็งได้ที่นี่

สนใจผลิตภัณฑ์ BIM100 เพื่อสุขภาพที่ดีกว่า  www.bim100chonburi.com


หรือสอบถามได้ที่ศูนย์บิม100 BIM100hcc 

คุณนิชาภา พุ่มไสว  โทร.087-7100-424  

Line : bim100center